แนะนำวิธีง่ายๆ ในการเพิ่มขนาดไฟล์ Upload ให้กับ WordPress

·
4 พฤศจิกายน 2024
·
WordPress
How To Increase Upload File Size In WordPress

หลายคนที่ใช้ WordPress อาจเจอปัญหาเกี่ยวกับการจำกัดขนาดไฟล์ในการอัปโหลด โดยเฉพาะถ้าเราต้องการอัปโหลดไฟล์รูปภาพที่มีขนาดใหญ่ หรือวีดีโอที่ใช้เนื้อที่เยอะๆ ข้อจำกัดนี้อาจมาจากการตั้งค่าของโฮสติ้งหรือเซิร์ฟเวอร์ แต่เราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยวิธีข้างล่างนี้

1. วิธีการตรวจสอบขนาดการ Upload File ปัจจุบัน

ก่อนจะเพิ่มขนาดมาดูขนาดการ Upload ที่ใช้งานได้ในปัจจุบันได้ที่: Dashboard » Media » Add new

จะเห็นข้อความที่บอกขนาดสูงสุดในการอัปโหลดไฟล์ เช่น “ขนาดไฟล์สูงสุดที่สามารถอัปโหลดได้: 2 MB”

How To Increase Upload File Size In WordPress

2. วิธีเพิ่มขนาดการ Upload File ใน WordPress

ในการเพิ่มขนาดไฟล์ Upload นั่นมีหลายวิธีเลยครับ ให้เลือกมาสักวิธีนึงที่เราสามารถแก้ไขได้นะครับ

วิธีที่ 2.1: แก้ไขไฟล์ php.ini

หากเราสามารถเข้าถึงไฟล์ php.ini ในเซิร์ฟเวอร์ได้ ให้เพิ่มหรือแก้ไขโค้ดนี้:

upload_max_filesize = 512MB
post_max_size = 512MB
max_execution_time = 300

คำอธิบาย:

  • upload_max_filesize คือขนาดสูงสุดของไฟล์ที่สามารถ Upload ได้
  • post_max_size กำหนดขนาดสูงสุดของข้อมูลทั้งหมดที่ส่งผ่าน POST เช่น ข้อมูลจากฟอร์ม
  • max_execution_time ระบุเวลาที่สคริปต์สามารถทำงานได้ก่อนที่จะถูกยกเลิก

วิธีที่ 2.2: แก้ไขไฟล์ .htaccess

สำหรับเว็บไซต์ที่ใช้งานบนเซิร์ฟเวอร์ Apache เราสามารถเพิ่มโค้ดต่อไปนี้ในไฟล์ .htaccess ได้ซึ่งอยู่ที่โฟลเดอร์ Root ของ WordPress

Folder Root File Htaccess
php_value upload_max_filesize 512M
php_value post_max_size 512M
php_value max_execution_time 300
php_value max_input_time 300

ตัวอย่างไฟล์ .htaccess เมื่อเพิ่มแล้วจะมีลักษณะดังนี้:

# การตั้งค่าเพิ่มขนาดการอัปโหลดไฟล์
php_value upload_max_filesize 512M
php_value post_max_size 512M
php_value max_execution_time 300
php_value max_input_time 300

# BEGIN WordPress
# ทิศทาง (เส้น) ระหว่าง "จุดเริ่มต้น WordPress" และ "จุดสิ้นสุด WordPress" จะถูกสร้างขึ้นมา
# โดยอัตโนมัติและควรจะถูกแก้ไขได้ด้วยตัวกรองของ WordPress เท่านั้น
# การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่กระทำต่อทิศทางระหว่างเครื่องหมายจะถูกเขียนทับ
<IfModule mod_rewrite.c>
RewriteEngine On
RewriteRule .* - [E=HTTP_AUTHORIZATION:%{HTTP:Authorization}]
RewriteBase /
RewriteRule ^index\.php$ - [L]
RewriteCond %{REQUEST_FILENAME} !-f
RewriteCond %{REQUEST_FILENAME} !-d
RewriteRule . /index.php [L]
</IfModule>

# END WordPress

หลังจากเพิ่มโค้ดแล้ว ให้บันทึกไฟล์ .htaccess และลองตรวจสอบขนาดการ Upload File ในแผงควบคุม WordPress ดูอีกครั้งว่าขนาดไฟล์อัปโหลดมีการอัปเดตแล้วหรือยังนะครับ

วิธีที่ 2.3: แก้ไขไฟล์ wp-config.php

อีกวิธีหนึ่งคือแก้ไขไฟล์ wp-config.php ที่อยู่ในโฟลเดอร์ Root ของ WordPress ใส่โค้ดนี้ก่อนบรรทัด /* That’s all, stop editing! Happy publishing. */

@ini_set( 'upload_max_size' , '512M' );
@ini_set( 'post_max_size', '512M');
@ini_set( 'max_execution_time', '300' );

ตัวอย่างไฟล์ wp-config.php เมื่อเพิ่มแล้วจะมีลักษณะดังนี้:

/**
 * For developers: WordPress debugging mode.
 *
 * Change this to true to enable the display of notices during development.
 * It is strongly recommended that plugin and theme developers use WP_DEBUG
 * in their development environments.
 *
 * For information on other constants that can be used for debugging,
 * visit the documentation.
 *
 * @link https://wordpress.org/support/article/debugging-in-wordpress/
 */
define('WP_DEBUG', false );

// Enable Debug logging to the /wp-content/debug.log file
define( 'WP_DEBUG_LOG', false );

/* Add any custom values between this line and the "stop editing" line. */

@ini_set( 'upload_max_size' , '512M' );
@ini_set( 'post_max_size', '512M');
@ini_set( 'max_execution_time', '300' );

หลังจากเพิ่มโค้ดแล้ว ให้บันทึกไฟล์ wp-config.php และลองตรวจสอบขนาดการ Upload File ในแผงควบคุม WordPress ดูอีกครั้งว่าขนาดไฟล์อัปโหลดมีการอัปเดตแล้วหรือยังนะครับ

วิธีที่ 2.4: ใช้ปลั๊กอิน WordPress เพื่อเพิ่มขนาด Upload File

หากไม่อยากแก้ไขโค้ดต่างๆ เองเราสามารถใช้ปลั๊กอิน Increase Maximum Upload File Size ในการแก้ไขขนาดการอัปโหลดไฟล์ได้

Increase Maximum Upload File Size Increase Execution Time

ดาวน์โหลดปลั๊กอิน: https://wordpress.org/plugins/wp-maximum-upload-file-size/

หากติดตั้งปลั๊กอินเรียบร้อยแล้วให้เข้าไปจัดการที่เมนู Dashboard » Media » Increase Upload Limit

3. ตรวจสอบการตั้งค่าใหม่

หลังจากที่ตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว ลองกลับไปที่ Dashboard » Media » Add new อีกครั้ง เพื่อดูว่าขนาดการอัปโหลดสูงสุดได้เพิ่มขึ้นหรือยังครับ

How To Increase Upload File Size In WordPress Ok

สุดท้ายนี้ถ้าหากทำตามวิธีที่แนะนำมาแต่ละวิธีแล้วยังไม่ได้ผลให้ติดต่อสอบถามโฮสติ้งได้เลยนะครับ เพราะโฮสติ้งที่เราใช้งานอยู่เขาอาจไม่อนุญาตให้เราแก้ไขข้อมูลเหล่านี้ได้

สรุป

การเพิ่มขนาดการ Upload File ใน WordPress นั้นไม่ซับซ้อนและสามารถทำได้หลายวิธี เพียงเลือกวิธีที่เหมาะกับเรา ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขไฟล์ php.ini, .htaccess, wp-config.php หรือการใช้ปลั๊กอิน รวมถึงการติดต่อโฮสติ้งเพื่อขอความช่วยเหลือ หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ เพิ่มขนาดการอัปโหลดไฟล์ได้ง่ายๆ นะครับ 🙂